วันอังคารที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

วิปัสสนากรรมฐานเบื้องต้น

วิปัสสนากรรมฐานเบื้องต้น

ไม่มีใครชอบความทุกข์ ทุกคนต้องการความสุข
การเจริญวิปัสสนา ( หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า " วิปัสสนากรรมฐาน") คือความมุ่งมั่นที่จะเฝ้าดูกายและใจของเราเพื่อเข้าใจสภาวะอันแท้จริงของกายและใจ ซึ่งก็คือ ความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และความไม่มีตัวตน ( อนิจจัง ทุกขัง และอนัตตา) ผลจากการฝึกวิปัสสนา เราจะเริ่มปล่อยวางความยึดมั่นถือมั่นในสิ่งทั้งปวง เมื่อจิตมีความยึดมั่นน้อยลง คุณก็เริ่มรู้สึกเป็นอิสระ-เบาสบายและผ่อนคลายในทุกสถานการณ์

กรรมฐาน

กรรมฐานคืออะไร
กรรมฐาน  เป็นคำเรียกโดยรวมในหมวดของการปฏิบัติธรรมประเภทหนึ่งในพระพุทธศาสนา หมวดกรรมฐาน ประกอบด้วย ตัวกรรมฐาน และโยคาวจร  ตัวกรรมฐาน คือ สิ่งที่ถูกเพ่ง ถูกพิจารณา ได้แก่ อารมณ์ต่าง ๆส่วนโยคาวจร คือ ผู้เพ่งหรือผู้พิจารณา ได้แก่ สติสัมปชัญญะและความเพียร การฝึกกรรมฐานว่าโดยธรรมาธิษฐานจึงหมายถึงการใช้สติสัมปชัญญะพิจารณาอารมณ์ ที่มากระทบ อย่างระมัดระวังไม่ให้บาปเกิดขึ้น เพียรหมั่นระลึกถึงกุศลและรักษากุศลนั้นอยู่มิให้เสื่อมไป   

อสุภกรรมฐาน

อสุภกรรมฐาน
อสุภ แปลว่า ไม่สวย ไม่งาม กรรมฐาน แปลว่า ตั้งอารมณ์ไว้ให้เป็นการเป็นงาน
รวมความแล้วได้ความว่า ตั้งอารมณ์เป็นการเป็นงานในอารมณ์ที่เห็นว่า ไม่มีอะไรสวยสดงดงาม
มีแต่ความสกปรกโสโครก น่าเกลียดน่าสะอิดสะเอียน
กำลังสมาธิของอสุภกรรมฐาน
อสุภกรรมฐาน
ลว่า ตั้งอารมณ์ไว้ให้เป็นการเป็นงาน รวมได้ความว่า ตั้งอารมณ์เป็นการเป็นงานในอารมณ์ที่เห็นว่า ไม่มีอ


กำลังสมาธิของอสุภกรรมฐาน

กำลังสมาธิของอสุภกรรมฐาน

อสุภกรรมฐานทั้ง ๑๐ อย่างนี้ มีกำลังสมาธิเพียงปฐมฌานเป็นอย่างสูงสุด ไม่สามารถ จะทรงฌานให้มีกำลังให้สูงกว่านั้นได้ เพราะเป็นกรรมฐานที่มีอารมณ์ด้านพิจารณามากกว่า การเพ่ง ใช้อารมณ์จิตใคร่ครวญพิจารณาอยู่เป็นปกติ จึงทรงสมาธิได้อย่างสูงก็เพียงปฐมฌาน เป็นกรรมฐานที่มีอารมณ์คล้ายคลึงกับวิปัสสนาญาณมาก นักปฏิบัติที่พิจารณาอสุภกรรมฐาน จนทรงปฐมฌานได้ดีแล้วพิจารณาวิปัสสนาญาณควบคู่กันไป จะบังเกิดผลรู้แจ้งเห็นจริงในอารมณ์ วิปัสสนาญาณได้อย่างไม่ยากนัก สำหรับอสุภกรรมฐานนี้เป็นสมถกรรมฐานที่ให้ผลในทางกำจัดราคะจริตเหมือนกันทั้ง ๑๐ กอง



ความเชื่อ

ความเชื่อ (อังกฤษBelief) หมายถึง การยอมรับว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นความจริง หรือมีการดำรงอยู่จริง โดยอาศัยประสบการณ์ตรง การไตร่ตรอง หรือการอนุมาน

อสุภ10

อสุภ (อ่านว่า อะสุบ, อะสุบพะ) แปลว่า ไม่งาม ไม่สวย ไม่ดี คือไม่น่าชื่นชม น่าเกลียด น่าระอา ใช้ว่า อสุภะ ก็ได้
อสุภ ในคำวัดใช้หมายถึงซากศพในสภาพต่างๆ ซึ่งท่านกำหนดเป็นอารมณ์กรรมฐาน ได้กล่าวไว้โดยรวม 10 อย่างคือ
  1. อุทธุมาตกะ ซากศพทีพองขึ้นอืด
  2. วินีลกะ ซากศพที่เขียวคล้ำ
  3. วิปุพพกะ ซากศพที่มีน้ำเหลืองไหลเยิ้ม
  4. วิจฉิททกะ ซากศพที่ขาดกลางตัว
  5. วิกขายิตกะ ซากศพที่ถูกสัตว์กัดกิน
  6. วิกขิตตกะ ซากศพที่มีมือ เท้า ศีรษะขาดหายไป
  7. หตวิกขิตตกะ ซากศพที่ถูกบั่นเป็นท่อนๆ
  8. โลหิตกะ ซากศพที่ถูกประหารมีเลือดไหลนอง
  9. ปุฬุวกะ ซากศพที่เน่าเฟะคลาคล่ำด้วยตัวหนอน
  10. อัฏฐิกะ ซากศพที่เหลือแต่โครงกระดูก
อสุภ นิยมใช้คู่กับคำอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกัน เช่น อสุภกถา อสุภกรรมฐาน อสุภนิมิต อสุภาวนา อสุภสัญญา

สมาธิ

สมาธิ (สันสกฤต : समाधि) คือการฝึกฝนทางจิตหลากหลายรูปแบบ ซึ่งเป้าหมายคือ ก่อให้เกิดการตระหนักรู้ตนเอง และจิตสำนึกต่อการทำงาน
การทำสมาธิโดยทั่วไปมักเป็นการฝึกหัดส่วนบุคคล ยกเว้นในบางกรณีเช่น การสวดมนต์ ผู้ฝึกสมาธิส่วนใหญ่ มักจดจ่อกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง อาจเป็นลมหายใจ การเพ่งวัตถุต่าง ๆ หรือแม้แต่การจดจ่อกับกิจกรรมที่กระทำ การทำสมาธิ มักเกี่ยวกับการปลูกฝังความรู้สึกหรือความเชื่อมั่นภายใน อาจจะเป็นการตั้งเป้าหมาย หรือ อาจจะหมายถึงการเชื่อมโยงกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างเฉพาะเจาะจงก็ได้
การมีจิตใจที่เข้มแข็ง รู้จักไตร่ตรองความคิดให้ถูกต้อง

วันจันทร์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

อสุภ

อสุภ (อ่านว่า อะสุบ, อะสุบพะ) แปลว่า ไม่งาม ไม่สวย ไม่ดี คือไม่น่าชื่นชม น่าเกลียด น่าระอา ใช้ว่า อสุภะ ก็ได้
อสุภ ในคำวัดใช้หมายถึงซากศพในสภาพต่างๆ ซึ่งท่านกำหนดเป็นอารมณ์กรรมฐาน ได้กล่าวไว้โดยรวม 10 อย่างคือ
  1. อุทธุมาตกะ ซากศพทีพองขึ้นอืด
  2. วินีลกะ ซากศพที่เขียวคล้ำ
  3. วิปุพพกะ ซากศพที่มีน้ำเหลืองไหลเยิ้ม
  4. วิจฉิททกะ ซากศพที่ขาดกลางตัว
  5. วิกขายิตกะ ซากศพที่ถูกสัตว์กัดกิน
  6. วิกขิตตกะ ซากศพที่มีมือ เท้า ศีรษะขาดหายไป
  7. หตวิกขิตตกะ ซากศพที่ถูกบั่นเป็นท่อนๆ
  8. โลหิตกะ ซากศพที่ถูกประหารมีเลือดไหลนอง
  9. ปุฬุวกะ ซากศพที่เน่าเฟะคลาคล่ำด้วยตัวหนอน
  10. อัฏฐิกะ ซากศพที่เหลือแต่โครงกระดูก
อสุภ นิยมใช้คู่กับคำอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกัน เช่น อสุภกถา อสุภกรรมฐาน อสุภนิมิต อสุภาวนา อสุภสัญญา

ความหมายของวิปัสสนากรรมฐาน

วิปัสสนากรรมฐานเป็นวิชาที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงค้นพบ และเป็นศาสตร์เดียวที่สามารถทำให้ผู้ปฏิบัติตามอย่างถูกต้องหลุดพ้นไปจากอำนาจการครอบงำของอาสวะกิเลส ตั้งแต่เบาบางจนกระทั่งหมดจด ปราศจากกิเลสโดยสิ้นเชิง 

วิปัสสนา มาจากคำว่า "วิ + ปัสสนา" 
วิ แปลว่า แจ้ง, จริง, วิเศษ 
ปัสสนา แปลว่า เห็น (ปัญญา) 

เมื่อกล่าวโดยความหมาย คือ 
๑. ปัญญาเห็นแจ้ง เห็นชัด รูป-นาม, อริยสัจจ์ 
๒. ปัญญาเห็นโดยอาการต่างๆ มีเห็นไตรลักษณ์, ปฏิจจสมุปบาท 
๓. ปัญญาเห็นแปลกประหลาด (อัศจรรย์ในสิ่งที่ได้เห็นในขณะปฏิบัติ) 

กรรมฐาน มาจากคำว่า "กรรม + ฐาน" 

๑. กรรม หมายถึง การกระทำ ในที่นี้มุ่งหมายเอาการบำเพ็ญเพียรทางจิตใจ เพื่อฝึกฝน อบรม ขัดเกลา กำจัดกิเลส อันเป็นสาเหตุหลักของความทุกข์ทั้งหลาย 

๒. ฐาน หมายถึง ที่ตั้ง
 ในที่นี่มุ่งหมายเอาอารมณ์ของวิปัสสนากรรมฐาน ซึ่งได้แก่ ขันธ์ ๕, อายตนะ ๑๒, ธาตุ ๑๘, อินทรีย์ ๒๒, ปฏิจจสมุปบาท ๑๒, และอริยสัจ ๔ เพื่อเป็นฐานหรือที่ตั้งในการเจริญวิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน ๔ (กายานุปัสสนา, เวทนานุปัสสนา, จิตตานุปัสสนา, ธรรมานุปัสสนา)