วัดเขาอิติสุคโต จ.ประจวบคีรีขันธิ์
วันพุธที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2558
วันอังคารที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2558
วิปัสสนากรรมฐานเบื้องต้น
วิปัสสนากรรมฐานเบื้องต้น
ไม่มีใครชอบความทุกข์ ทุกคนต้องการความสุข
การเจริญวิปัสสนา ( หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า " วิปัสสนากรรมฐาน") คือความมุ่งมั่นที่จะเฝ้าดูกายและใจของเราเพื่อเข้าใจสภาวะอันแท้จริงของกายและใจ ซึ่งก็คือ ความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และความไม่มีตัวตน ( อนิจจัง ทุกขัง และอนัตตา) ผลจากการฝึกวิปัสสนา เราจะเริ่มปล่อยวางความยึดมั่นถือมั่นในสิ่งทั้งปวง เมื่อจิตมีความยึดมั่นน้อยลง คุณก็เริ่มรู้สึกเป็นอิสระ-เบาสบายและผ่อนคลายในทุกสถานการณ์
กรรมฐาน
กรรมฐานคืออะไร
กรรมฐาน เป็นคำเรียกโดยรวมในหมวดของการปฏิบัติธรรมประเภทหนึ่งในพระพุทธศาสนา หมวดกรรมฐาน ประกอบด้วย ตัวกรรมฐาน และโยคาวจร ตัวกรรมฐาน คือ สิ่งที่ถูกเพ่ง ถูกพิจารณา ได้แก่ อารมณ์ต่าง ๆส่วนโยคาวจร คือ ผู้เพ่งหรือผู้พิจารณา ได้แก่ สติสัมปชัญญะและความเพียร การฝึกกรรมฐานว่าโดยธรรมาธิษฐานจึงหมายถึงการใช้สติสัมปชัญญะพิจารณาอารมณ์ ที่มากระทบ อย่างระมัดระวังไม่ให้บาปเกิดขึ้น เพียรหมั่นระลึกถึงกุศลและรักษากุศลนั้นอยู่มิให้เสื่อมไป
อสุภกรรมฐาน
อสุภกรรมฐาน
อสุภ แปลว่า ไม่สวย ไม่งาม กรรมฐาน แปลว่า ตั้งอารมณ์ไว้ให้เป็นการเป็นงาน
รวมความแล้วได้ความว่า ตั้งอารมณ์เป็นการเป็นงานในอารมณ์ที่เห็นว่า ไม่มีอะไรสวยสดงดงาม มีแต่ความสกปรกโสโครก น่าเกลียดน่าสะอิดสะเอียน
กำลังสมาธิของอสุภกรรมฐาน
|
กำลังสมาธิของอสุภกรรมฐาน
กำลังสมาธิของอสุภกรรมฐาน
อสุภกรรมฐานทั้ง ๑๐ อย่างนี้ มีกำลังสมาธิเพียงปฐมฌานเป็นอย่างสูงสุด ไม่สามารถ จะทรงฌานให้มีกำลังให้สูงกว่านั้นได้ เพราะเป็นกรรมฐานที่มีอารมณ์ด้านพิจารณามากกว่า การเพ่ง ใช้อารมณ์จิตใคร่ครวญพิจารณาอยู่เป็นปกติ จึงทรงสมาธิได้อย่างสูงก็เพียงปฐมฌาน เป็นกรรมฐานที่มีอารมณ์คล้ายคลึงกับวิปัสสนาญาณมาก นักปฏิบัติที่พิจารณาอสุภกรรมฐาน จนทรงปฐมฌานได้ดีแล้วพิจารณาวิปัสสนาญาณควบคู่กันไป จะบังเกิดผลรู้แจ้งเห็นจริงในอารมณ์ วิปัสสนาญาณได้อย่างไม่ยากนัก สำหรับอสุภกรรมฐานนี้เป็นสมถกรรมฐานที่ให้ผลในทางกำจัดราคะจริตเหมือนกันทั้ง ๑๐ กอง
ความเชื่อ
ความเชื่อ (อังกฤษ: Belief) หมายถึง การยอมรับว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นความจริง หรือมีการดำรงอยู่จริง โดยอาศัยประสบการณ์ตรง การไตร่ตรอง หรือการอนุมาน
อสุภ10
อสุภ (อ่านว่า อะสุบ, อะสุบพะ) แปลว่า ไม่งาม ไม่สวย ไม่ดี คือไม่น่าชื่นชม น่าเกลียด น่าระอา ใช้ว่า อสุภะ ก็ได้
อสุภ ในคำวัดใช้หมายถึงซากศพในสภาพต่างๆ ซึ่งท่านกำหนดเป็นอารมณ์กรรมฐาน ได้กล่าวไว้โดยรวม 10 อย่างคือ
- อุทธุมาตกะ ซากศพทีพองขึ้นอืด
- วินีลกะ ซากศพที่เขียวคล้ำ
- วิปุพพกะ ซากศพที่มีน้ำเหลืองไหลเยิ้ม
- วิจฉิททกะ ซากศพที่ขาดกลางตัว
- วิกขายิตกะ ซากศพที่ถูกสัตว์กัดกิน
- วิกขิตตกะ ซากศพที่มีมือ เท้า ศีรษะขาดหายไป
- หตวิกขิตตกะ ซากศพที่ถูกบั่นเป็นท่อนๆ
- โลหิตกะ ซากศพที่ถูกประหารมีเลือดไหลนอง
- ปุฬุวกะ ซากศพที่เน่าเฟะคลาคล่ำด้วยตัวหนอน
- อัฏฐิกะ ซากศพที่เหลือแต่โครงกระดูก
อสุภ นิยมใช้คู่กับคำอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกัน เช่น อสุภกถา อสุภกรรมฐาน อสุภนิมิต อสุภาวนา อสุภสัญญา
สมาธิ
สมาธิ (สันสกฤต : समाधि) คือการฝึกฝนทางจิตหลากหลายรูปแบบ ซึ่งเป้าหมายคือ ก่อให้เกิดการตระหนักรู้ตนเอง และจิตสำนึกต่อการทำงาน
การทำสมาธิโดยทั่วไปมักเป็นการฝึกหัดส่วนบุคคล ยกเว้นในบางกรณีเช่น การสวดมนต์ ผู้ฝึกสมาธิส่วนใหญ่ มักจดจ่อกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง อาจเป็นลมหายใจ การเพ่งวัตถุต่าง ๆ หรือแม้แต่การจดจ่อกับกิจกรรมที่กระทำ การทำสมาธิ มักเกี่ยวกับการปลูกฝังความรู้สึกหรือความเชื่อมั่นภายใน อาจจะเป็นการตั้งเป้าหมาย หรือ อาจจะหมายถึงการเชื่อมโยงกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างเฉพาะเจาะจงก็ได้
การมีจิตใจที่เข้มแข็ง รู้จักไตร่ตรองความคิดให้ถูกต้อง
วันจันทร์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2558
อสุภ
อสุภ (อ่านว่า อะสุบ, อะสุบพะ) แปลว่า ไม่งาม ไม่สวย ไม่ดี คือไม่น่าชื่นชม น่าเกลียด น่าระอา ใช้ว่า อสุภะ ก็ได้
อสุภ ในคำวัดใช้หมายถึงซากศพในสภาพต่างๆ ซึ่งท่านกำหนดเป็นอารมณ์กรรมฐาน ได้กล่าวไว้โดยรวม 10 อย่างคือ
- อุทธุมาตกะ ซากศพทีพองขึ้นอืด
- วินีลกะ ซากศพที่เขียวคล้ำ
- วิปุพพกะ ซากศพที่มีน้ำเหลืองไหลเยิ้ม
- วิจฉิททกะ ซากศพที่ขาดกลางตัว
- วิกขายิตกะ ซากศพที่ถูกสัตว์กัดกิน
- วิกขิตตกะ ซากศพที่มีมือ เท้า ศีรษะขาดหายไป
- หตวิกขิตตกะ ซากศพที่ถูกบั่นเป็นท่อนๆ
- โลหิตกะ ซากศพที่ถูกประหารมีเลือดไหลนอง
- ปุฬุวกะ ซากศพที่เน่าเฟะคลาคล่ำด้วยตัวหนอน
- อัฏฐิกะ ซากศพที่เหลือแต่โครงกระดูก
อสุภ นิยมใช้คู่กับคำอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกัน เช่น อสุภกถา อสุภกรรมฐาน อสุภนิมิต อสุภาวนา อสุภสัญญา
ความหมายของวิปัสสนากรรมฐาน
วิปัสสนากรรมฐานเป็นวิชาที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงค้นพบ และเป็นศาสตร์เดียวที่สามารถทำให้ผู้ปฏิบัติตามอย่างถูกต้องหลุดพ้นไปจากอำนาจการครอบงำของอาสวะกิเลส ตั้งแต่เบาบางจนกระทั่งหมดจด ปราศจากกิเลสโดยสิ้นเชิง
วิปัสสนา มาจากคำว่า "วิ + ปัสสนา"
วิ แปลว่า แจ้ง, จริง, วิเศษ
ปัสสนา แปลว่า เห็น (ปัญญา)
เมื่อกล่าวโดยความหมาย คือ
๑. ปัญญาเห็นแจ้ง เห็นชัด รูป-นาม, อริยสัจจ์
๒. ปัญญาเห็นโดยอาการต่างๆ มีเห็นไตรลักษณ์, ปฏิจจสมุปบาท
๓. ปัญญาเห็นแปลกประหลาด (อัศจรรย์ในสิ่งที่ได้เห็นในขณะปฏิบัติ)
กรรมฐาน มาจากคำว่า "กรรม + ฐาน"
๑. กรรม หมายถึง การกระทำ ในที่นี้มุ่งหมายเอาการบำเพ็ญเพียรทางจิตใจ เพื่อฝึกฝน อบรม ขัดเกลา กำจัดกิเลส อันเป็นสาเหตุหลักของความทุกข์ทั้งหลาย
๒. ฐาน หมายถึง ที่ตั้ง ในที่นี่มุ่งหมายเอาอารมณ์ของวิปัสสนากรรมฐาน ซึ่งได้แก่ ขันธ์ ๕, อายตนะ ๑๒, ธาตุ ๑๘, อินทรีย์ ๒๒, ปฏิจจสมุปบาท ๑๒, และอริยสัจ ๔ เพื่อเป็นฐานหรือที่ตั้งในการเจริญวิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน ๔ (กายานุปัสสนา, เวทนานุปัสสนา, จิตตานุปัสสนา, ธรรมานุปัสสนา)
วิปัสสนา มาจากคำว่า "วิ + ปัสสนา"
วิ แปลว่า แจ้ง, จริง, วิเศษ
ปัสสนา แปลว่า เห็น (ปัญญา)
เมื่อกล่าวโดยความหมาย คือ
๑. ปัญญาเห็นแจ้ง เห็นชัด รูป-นาม, อริยสัจจ์
๒. ปัญญาเห็นโดยอาการต่างๆ มีเห็นไตรลักษณ์, ปฏิจจสมุปบาท
๓. ปัญญาเห็นแปลกประหลาด (อัศจรรย์ในสิ่งที่ได้เห็นในขณะปฏิบัติ)
กรรมฐาน มาจากคำว่า "กรรม + ฐาน"
๑. กรรม หมายถึง การกระทำ ในที่นี้มุ่งหมายเอาการบำเพ็ญเพียรทางจิตใจ เพื่อฝึกฝน อบรม ขัดเกลา กำจัดกิเลส อันเป็นสาเหตุหลักของความทุกข์ทั้งหลาย
๒. ฐาน หมายถึง ที่ตั้ง ในที่นี่มุ่งหมายเอาอารมณ์ของวิปัสสนากรรมฐาน ซึ่งได้แก่ ขันธ์ ๕, อายตนะ ๑๒, ธาตุ ๑๘, อินทรีย์ ๒๒, ปฏิจจสมุปบาท ๑๒, และอริยสัจ ๔ เพื่อเป็นฐานหรือที่ตั้งในการเจริญวิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน ๔ (กายานุปัสสนา, เวทนานุปัสสนา, จิตตานุปัสสนา, ธรรมานุปัสสนา)
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)